ภาพรวมการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
รายละเอียดการทำงานด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมคือการอนุรักษ์โบราณสถาน สถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ อนุสรณ์สถาน กลุ่มอาคารสถานในแหล่งชุมชน แหล่งโบราณคดี สถานที่ทางประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน หัตถกรรมดั้งเดิม เรื่องราวและประเพณีที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น วรรณกรรมพื้นบ้าน ความรู้และภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม รวมทั้งโบราณวัตถุและทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอื่น ๆ โดยมุ่งหวังที่จะนำไปใช้ในรูปแบบที่ทำให้มีชีวิตชีวาและเกิดประโยชน์ และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตวิญญาณของประชาชน อีกทั้งช่วยส่งเสริมด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม
สร้างระบบและสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม โดยผ่านระบบการบำรุงรักษาและอนุรักษ์เพื่อให้การอนุรักษ์ บำรุงรักษา การศึกษา และการถ่ายทอดส่งต่อความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมนั้นได้นำไปใช้จริงนอกจากนี้ยังส่งเสริมความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ เพื่อให้สอดรับกับมาตรฐานสากล
โดยคาดหวังว่าในอนาคตการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมจะบรรลุเป้าหมายในการทำให้การอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมมีความหลากหลายมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน การทำให้การอนุรักษ์และบำรุงทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องในระดับสังคม การปลูกฝังการศึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับพื้นฐาน การนำการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเข้าสู่ระบบคลาวด์ และการพัฒนาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในระดับสากล เป็นต้น
แผนกลยุทธ์
- ดำเนินการตามกลไกความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างระบบการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและการวิจัยด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการสำรวจและวิจัยโบราณสถาน การวางแผนการออกแบบ การบูรณะฟื้นฟูโบราณสถานให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง รวมถึงการบริหารจัดการดูแลรักษาโบราณสถานในชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบ
- ขยายการอนุรักษ์จากการอนุรักษ์แบบเดี่ยวไปสู่การอนุรักษ์และบริหารจัดการในระดับภูมิภาคผ่านการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
- ใช้แนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ที่สำหรับทรัพย์สินทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นหน้าต่างแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของไต้หวัน
หน้าที่หลัก
เนื้อหาในการดำเนินการ
- ดำเนินการกำหนด ขึ้นทะเบียน ประกาศข้อมูล ยกเลิก และเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับโบราณสถานแห่งชาติ กลุ่มอาคารที่มีความสำคัญในชุมชน ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญและสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ
- ดำเนินการสำรวจ วิจัย ใช้ประโยชน์ ทุนสนับสนุน และวางแผนเขตอนุรักษ์ของโบราณสถานแห่งชาติและกลุ่มอาคารที่สำคัญในชุมชน
- ดำเนินการกำหนด ประกาศข้อมูล ยกเลิก และเปลี่ยนแปลงสมบัติของชาติ โบราณวัตถุที่สำคัญ แหล่งโบราณคดีแห่งชาติ และทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
- ดำเนินการอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี และทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
- ดำเนินการสำรวจ วิจัย และให้ทุนสนับสนุนโครงการของสมบัติของชาติ โบราณวัตถุที่สำคัญ แหล่งโบราณคดีแห่งชาติ และทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
- ดำเนินการวางแผนเขตอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีและพื้นที่คุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
- ดำเนินการสำรวจและวิจัย ขึ้นทะเบียน ยกเลิก เปลี่ยนแปลง ถ่ายทอดความรู้ ให้ทุนสนับสนุนรวมถึงกระบวนการในการพัฒนาและการนำไปปฏิบัติจริงด้านการอนุรักษ์และบำรุงรักษา ของศิลปะการแสดงดั้งเดิมที่สำคัญ งานฝีมือดั้งเดิมที่สำคัญ ประเพณีมุขปาฐะที่สำคัญ ประเพณีพื้นบ้านที่สำคัญ ความรู้และการปฏิบัติตามประเพณีที่สำคัญ
- ดำเนินการจัดทำรายการ ขึ้นทะเบียน ยกเลิก เปลี่ยนแปลง ถ่ายทอด และอนุรักษ์บำรุงรักษาเทคนิคการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและผู้อนุรักษ์
- การดำเนินการพัฒนาบุคลากรและเผยแพร่ประเพณีพื้นบ้านและเทคนิคการอนุรักษ์
- สนับสนุนรัฐบาลเขตปกครองพิเศษ จังหวัด (เมือง) ในการดำเนินการสำรวจทั่วไป ขึ้นทะเบียน และอนุรักษ์บำรุงรักษาโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ อาคารอนุสรณ์ กลุ่มอาคารในชุมชน สถานที่ประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี ศิลปะการแสดงประเพณี งานฝีมือประเพณี ประเพณีมุขปาฐะ ประเพณีพื้นบ้าน และความรู้และการปฏิบัติตามประเพณี
- ดำเนินการรวบรวม เก็บรักษา เผยแพร่ จัดพิมพ์ ทำให้เป็นดิจิทัล และเผยแพร่ข้อมูลและสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
ภารกิจสำคัญที่กำลังผลักดันในปัจจุบัน
- การอนุรักษ์และงานฟื้นฟูทรัพย์สินทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเชิงลึก
- ดำเนินการโครงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลท้องถิ่นในการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- การผลักดันการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ใหม่ของทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้
- ผลักดันโครงการเฉพาะด้านการบูรณะฟื้นฟูสถานที่ประวัติศาสตร์
- โครงการบูรณะฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์ใหม่ของโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ และอนุสรณ์สถาน
- ส่งเสริมโครงการการอนุรักษ์และบำรุงรักษากลุ่มอาคารในชุมชน โบราณสถาน และภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม
- งานพัฒนาและฟื้นฟูวัตถุโบราณ แหล่งโบราณคดี และทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้ทะเล
- ส่งเสริมการสร้างระบบป้องกันภัยพิบัติ
- ส่งเสริมงานอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง
- จัดงานมอบรางวัลการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติ
- ช่วยเหลือเขตปกครองตนเองและรัฐบาลท้องถิ่นในการกำหนดเขตอนุรักษ์โบราณสถานและทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอื่น ๆ
- ดำเนินการตรวจสอบการออกแบบและการวางแผนการบูรณะและการใช้ประโยชน์ใหม่ กำกับติดตามดูแลงานบูรณะ และตรวจเยี่ยมการจัดการและบำรุงรักษาโบราณสถานแห่งชาติ
- ดำเนินการจัดการและการบำรุงรักษาและการจัดการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้
- ดำเนินการด้านศูนย์บริการวิชาชีพเฉพาะพื้นที่สำหรับโบราณสถานและสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
- การประเมินการจัดการและบำรุงรักษาโบราณสถาน อาคารทางประวัติศาสตร์ และอนุสรณ์สถาน
- ดำเนินการตามแผนการควบคุมและปกป้องแหล่งโบราณคดี
- ส่งเสริมการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ใหม่ของทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
- ดำเนินการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญและเทคนิคการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
- ส่งเสริมงานอนุรักษ์และการบำรุงรักษาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
- จัดการศึกษาเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
- จัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- การวิจัยและพัฒนาเทคนิคการอนุรักษ์และบูรณะทรัพย์สินวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้ผลงาน
- การวิจัยในประเทศ: พัฒนาการวิจัยพื้นฐานและประยุกต์สำหรับการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ: สร้างแพลตฟอร์มสำหรับเทคนิคการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและการพัฒนาบุคลากร
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี: การใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการถ่ายทอด
- ส่งเสริมการทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเป็นไปตามกฎหมาย
- เสร็จสิ้นการออกกฎหมายพระราชบัญญัติการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
- ผลักดันการแก้ไขพระราชบัญญัติการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- ดำเนินการแก้ไขกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและพระราชบัญญัติการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
ทิศทางการดำเนินงานในอนาคต
- ส่งเสริมโครงการฟื้นฟูสถานประวัติศาสตร์ โดยมีการวางแผนเชื่อมโยงการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมแบบจุดเดียวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงเทคโนโลยีทางวัฒนธรรม และบูรณาการข้ามสาขากับแผนพัฒนาระหว่างหน่วยงานส่วนกลางกับแผนพัฒนาของรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อรวมเป็นการอนุรักษ์แบบเส้นหรือพื้นที่ เชื่อมโยงและสร้างความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของแผ่นดินและประชาชนขึ้นใหม่ สร้างนโยบายการอนุรักษ์วัฒนธรรมแบบองค์รวมจากส่วนกลางถึงท้องถิ่น และนำการอนุรักษ์วัฒนธรรมมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชน
- สำหรับการอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้นั้น จะเน้นความสำคัญที่การสืบทอดและการพัฒนาบุคลากรเป็นอันดับแรก โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในทุกระดับและสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมงานนี้อย่างจริงจัง อีกทั้งเพื่อป้องกันการขาดแคลนบุคลากรด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- รวบรวมระบบข้อมูลของทรัพย์สินทางวัฒนธรรมประเภทต่าง ๆทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะพัฒนาในอนาคต โดยมุ่งสู่การพัฒนาระบบคลาวด์และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
- ดำเนินการแลกเปลี่ยนด้านการอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมกับประเทศที่มีเทคโนโลยีการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าในระดับนานาชาติ และของประเทศจีนที่มีศักยภาพที่โดดเด่น