ข้ามไปยังส่วนเนื้อหาหลัก

โครงการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมหมู่บ้าน (ปี 2022-2027)

ภาพรวมการดำเนินงาน

ที่มาของโครงการ

「โครงการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมหมู่บ้าน (ปี 2022-2027)」มีวัตถุประสงค์เพื่อการสืบสานพลังภาคประชาชนที่ได้รับการถูกจุดประกายขึ้น โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์และข้อจำกัดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา และเพื่อรับมือกับความท้าทายหลายหลากในสังคมไต้หวันที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน อาทิ โลกาภิวัตน์ โครงสร้างจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และความรู้สึกถูกลิดรอนสิทธิของคนรุ่นใหม่ เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ เราควรเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการสร้างชุมชนให้มากขึ้น เพื่อบ่มเพาะพลเมืองที่มีจิตสำนึกและมีความกระตือรือร้นมากขึ้น   ส่งเสริมรูปแบบการกำกับดูแลสาธารณะแบบใหม่ที่เอื้อต่อการสร้างชุมชน ร่วมกันอภิปราย เผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน และสร้างวิสัยทัศน์ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ที่หลากหลายจากมุมมองท้องถิ่น


เป้าหมายของโครงการ

เป้าหมายโดยรวมของโครงการนี้ ประกอบด้วยสามประการหลักดังนี้

  1. 「การบริหารจัดการเชิงประชาธิปไตย」 หมายถึงการจัดการที่ให้พลเมืองมีส่วนร่วมและเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ โดยส่งเสริมการสื่อสารอย่างต่อเนื่องระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลทุกระดับสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการมีส่วนร่วมของพลเมือง ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาสังคม เสริมสร้างกระบวนการการบริหารจัดการเชิงประชาธิปไตย และร่วมกันสร้างกลไกการบริหารและนโยบายที่มีวิสัยทัศน์และเชิงทดลองมากขึ้น ในที่นี้ จำเป็นต้องระบุอย่างชัดเจนว่าผู้มีบทบาทหลักในอนาคตก็คือพลเมือง และขอบเขตการดำเนินงานอยู่ภายในชุมชนและกลุ่มทางสังคม โดยที่ภาครัฐต้องตระหนักถึงบทบาทในการสร้างหรือกระตุ้นแพลตฟอร์ม  เพื่อรับมือกับรูปแบบสังคมที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และนิยามขอบเขตของกิจการสาธารณะใหม่
  2. 「การมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ」นั้น จะเน้นย้ำการขยายการมีส่วนร่วมไปในวงกว้าง อีกทั้งจำเป็นต้องโอบรับกับความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ องค์กรภาคประชาชน และปัจเจกบุคคล จากองค์กรภาคประชาสังคมประเภทต่างๆ ในไต้หวัน เราต้องเรียกร้องพลังที่หลากหลายของสังคมพลเรือน และจากนั้นวิเคราะห์แยกแยะประเด็นปัญหาในหลากหลายมิติ เพื่อขยายพันธมิตรภาคประชาสังคม และริเริ่มการปฏิบัติทางสังคมในบริบทต่างๆ นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายและการดำเนินโครงการต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย โดยภาครัฐบาลต้องมุ่งมั่นในการบูรณาการทรัพยากรและการบริหาร ในส่วนของภาคประชาชนนั้นคือการลดอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ เพื่อให้การพัฒนาชุมชนสอดคล้องกับพลวัตทางสังคมมากขึ้น และขยายไปยังทุกซอกมุมของสังคม
  3. 「การปรับเปลี่ยนพัฒนาสังคม」เป็นเป้าหมายหลักประการสุดท้ายใน 「โครงการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมหมู่บ้าน (ปี 2022-2027) 」โดยผ่าน「การพัฒนาจากการเสริมสร้างพลังชุมชน/กลุ่มทางสังคม (Community Empowerment)」ไปสู่การปฏิรูปสังคม จากการให้ความสนใจกับประเด็นหรือปัญหาในชุมชนและการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ขยายไปสู่การให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาข้ามพื้นที่ (รวมถึงระดับโลก) และการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มสังคมต่างๆ เพื่อก้าวข้ามขอบเขตชุมชนและสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติการข้ามพื้นที่  เพื่อตอบสนองต่อประเด็นปัญหาที่หลากหลายในการปฏิรูปสังคม


แผนกลยุทธ์

กลยุทธ์โดยรวมของโครงการ ประกอบด้วยสี่ประการหลักดังนี้

  1. การบริหารจัดการสาธารณะ: การสร้างระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณะที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน
    • พลเมืองเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาชุมชน ซึ่งแก่นแท้ของการพัฒนาชุมชนจะเกิดขึ้นได้จากการมีส่วนร่วมของพลเมืองในพื้นที่ โดยการที่กลุ่มสังคมที่มีความหลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ นั้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน และในที่สุดก็จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนและพัฒนาสังคมที่ดีขึ้น ฉะนั้นแนวคิดใน「การบริหารจัดการสาธารณะ」ควรประกอบไปด้วย 2 มิติ มิติที่1 คือ เน้นการมีส่วนร่วมโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผ่านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการกำกับดูแลที่แท้จริง และการใช้สิทธิพลเมืองทางวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม มิติที่ 2 คือหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ จำเป็นต้องเปิดกว้างมากขึ้นในด้านการบริหารและข้อมูล ผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลางและท้องถิ่น รวมถึงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ผ่านการสร้างระบบสนับสนุนการกำกับดูแลสาธารณะที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายโดยรวมของโครงการนี้
  2. ก้าวไปข้างหน้าร่วมกันของคนทุกรุ่น: การมอบอำนาจให้แก่เยาวชน ความร่วมมือระหว่างรุ่น และการพัฒนาที่เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
    • ปรากฏการณ์ประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเกิดที่ลดลงในไต้หวัน กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ไม่ใช่เพียงแค่ประชากรรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับอนาคตได้โดยลำพัง ในการรับมือกับปัญหาสังคม จำเป็นต้องมีความร่วมมือจากประชากรระหว่างรุ่นมากขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมของคนต่างรุ่นในการพัฒนาชุมชน การมอบอำนาจให้แก่เยาวชน การส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจระหว่างรุ่น รวมถึงการเคารพและยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน การทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนในแต่ละวัยแน่นแฟ้นขึ้น ให้คนต่างรุ่นนั้นสามารถเติมเต็มซึ่งกันและกัน การแบ่งปันทรัพยากร และได้รับประโยชน์ร่วมกัน ให้แต่ละรุ่นสามารถนำจุดเด่นและความสามารถเฉพาะตัวของตนออกมาใช้ และสามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ รักษาและส่งเสริมความกระตือรือร้นของประชาชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และร่วมมือกันก้าวไปข้างหน้าเพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งวันพรุ่งนี้
  3. ความหลากหลายและความเท่าเทียม: เห็นคุณค่าของความหลากหลาย เคารพความแตกต่าง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม
    • การสร้างสังคม เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปสังคมจากล่างขึ้นบน โดยอาศัยพื้นฐานจากชีวิตประจำวัน และเป็นกระบวนการรวมตัวจาก「ปัจเจกบุคคล」เป็น「กลุ่ม」ชุมชนที่ดูเหมือนจะมีความเป็นเอกภาพ แต่ความเป็นจริงแล้วมีความแตกต่างภายในอันเนื่องมาจากเพศ ชนชั้น ชาติพันธุ์ รุ่น และสภาพร่างกายและจิตใจ เป็นต้น ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รวดเร็ว ทำให้ชุมชนที่มีความหลากหลายอยู่แล้วยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้ ผู้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ควรให้ความใส่ใจอย่างต่อเนื่องว่าการเข้าร่วมในการสร้างสังคมนั้นมีความหลากหลายหรือไม่ และพิจารณาว่ายังมีสมาชิกบางส่วนที่ไม่ได้รับการมองเห็นเนื่องจากมีอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มทางสังคมของพวกเขาหรือไม่ การสูญเสียโอกาสและช่องทางในการมีส่วนร่วม จึงต้องการการสนับสนุนจากสังคมมากขึ้นเพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุฉะนี้จึงทำให้กลุ่มคนที่หลากหลายสามารถมีช่องทางและโอกาสที่เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วมได้
  4. การสร้างสรรค์สังคมร่วมกัน: การออกแบบสังคม เทคโนโลยีพลเมือง และการเชื่อมโยงข้ามศาสตร์
    • การสร้างสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำมาสู่การเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเด็นปัญหาสาธารณะของสังคมที่หลากหลาย องค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนและความเข้มแข็งของกลุ่มสังคมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในหลากหลายพื้นที่ รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการที่ผู้คนติดต่อสื่อสารกัน การเผยแพร่ข้อมูล รวมถึงรูปแบบการทำงานในสังคม(และระดับโลก)ในอนาคตจะต้องเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการสร้างสังคมจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาสังคม วิธีการเชื่อมโยงประเด็นสาธารณะ เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างพลเมืองและพลังจากกลุ่มสังคม พร้อมทั้งใช้การออกแบบสังคมและความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนการสร้างสังคม เพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกและเชื่อมโยงกับค่านิยมสากล และเป็นทิศทางในการผลักดันอย่างไม่ย่อท้อในการสร้างสังคมของโครงการนี้ 


หน้าที่หลัก

รายละเอียดการดำเนินงาน

  1. การบริหารจัดการสาธารณะ
    • ผ่านการตรวจสอบระเบียบกฎหมาย เสริมสร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐบาลกลาง รวมถึงการบูรณาการนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนของแผนกต่างๆ ในแต่ละจังหวัด เพื่อให้เกิดการบริหารงานแบบการสร้างชุมชน ในขณะเดียวกัน ให้การสนับสนุนองค์กรภาคเอกชนให้เข้มแข็งขึ้น โดยให้การสนับสนุนและค่อยๆ พัฒนาองค์กรสื่อกลางในการสร้างสังคม ผ่านนโยบายรัฐบาลเปิดที่เกี่ยวข้องและกลไกสนับสนุน  เพื่อเน้นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างรูปแบบสังคมพลเมืองที่สามารถมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายสาธารณะและกิจกรรมชุมชน ทำให้การเคลื่อนไหวในการสร้างสังคมดำเนินไปอย่างอิสระและต่อเนื่อ
  2. การก้าวไปข้างหน้าของคนรุ่นใหม่
    • การทำอย่างไรให้เยาวชนมีอำนาจ (empower) เป็นเป้าหมายและประเด็นสำคัญในการสร้างสังคม เยาวชนที่กลับบ้านเกิดหรือย้ายเข้าสู่ชนบท ภายใต้ข้อจำกัดด้านแรงงาน เวลา และทรัพยากร นอกจากจะต้องพัฒนาความสามารถในการบูรณาการและการบริหารจัดการแล้ว ยังต้องใช้จิตวิญญาณของการพัฒนาชุมชนในการขับเคลื่อนงานฟื้นฟูท้องถิ่น และต้องเสริมสร้างความสามารถในการคิดข้ามศาสตร์ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการสำรวจประเด็นสาธารณะของชุมชนในแนวราบ อีกด้านหนึ่ง ผ่านการสร้างความรู้และระบบสนับสนุนในระดับท้องถิ่น เพื่อทลายความคิดเก่าเรื่องการแข่งขันระหว่างรุ่น  ใช้ความร่วมมือและการแบ่งงานที่หลากหลายในท้องถิ่น บูรณาการทรัพยากรจากภายนอก และสืบทอดประสบการณ์ทางวัฒนธรรมไปยังรุ่นต่อไป ในขณะเดียวกัน เปิดกว้างเรื่องการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เพื่อให้ชาวบ้านแต่ละรุ่นที่อาศัยในชุมชน สามารถแบ่งปันทรัพยากรภายในชุมชน สร้างจิตสำนึกใหม่ภายในชุมชน และเชื่อมโยงเครือข่ายสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ความเท่าเทียมที่หลากหลาย
    • เพื่อให้ปัญหาและความต้องการในการดำรงชีวิตของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าสู่พื้นที่สาธารณะเพื่อการอภิปรายและการสนับสนุน เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความเท่าเทียมที่หลากหลาย โดยการสร้างพื้นที่ที่เป็นมิตรในชุมชน รวมถึงการทบทวนกฎหมายและนโยบาย และควรมีการจัดเตรียมช่องทางการเข้าร่วมในหลายๆ รูปแบบ เพื่อให้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่หลากหลายสามารถก่อตัวและหยั่งรากลึกได้ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชน ในการรวบรวมประวัติศาสตร์และความทรงจำทางวัฒนธรรมจากมุมมองที่หลากหลาย อีกทั้งควรเน้นถึงการส่งเสริมให้สิ่งเหล่านี้ผสมผสานเข้ากับบริบททางประวัติศาสตร์ของไต้หวัน เพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำทางวัฒนธรรมโดยรวม ซึ่งงานในด้านนี้ควรได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่อง
  4. การสร้างสรรค์ร่วมกันในสังคม
    • ในยุคโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมไต้หวัน ประเด็นสาธารณะใหม่ๆ มากมายรวมถึงความท้าทายระดับโลกก็เกิดขึ้น เช่น สังคมผู้สูงอายุ  ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เป็นต้น เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องค่อยๆ พัฒนาพลังในการส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคม โดยนำแนวคิดการออกแบบทางสังคมมาใช้ในการพัฒนาชุมชน และใช้แนวคิดการออกแบบทางสังคมเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในการบริการสาธารณะ รวมถึงการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมใหม่ๆ นอกจากนี้ การดำเนินงานของโครงการต่างๆ ควรสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) และวางแผนเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการต่างๆ ได้ในระดับท้องถิ่น โดยใช้การเชื่อมโยงองค์กรท้องถิ่นกับประเด็นระดับนานาชาติเพื่อยกระดับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้บรรลุและปฏิบัติตามแนวคิด「ชุมชนที่ยั่งยืน」ท้ายที่สุด มีความพยายามในการขยายวิสัยทัศน์การพัฒนาชุมชนของไต้หวันผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาชุมชนทั้งในและต่างประเทศ เสนอกลยุทธ์ และร่วมกันเผชิญและจัดการกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

สำหรับไต้หวัน การพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม มิใช่เป็นเพียงแค่นโยบายทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคมอีกด้วย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประชาชนได้มีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะของสังคมผ่านกลไกต่างๆ ของการพัฒนา ตั้งแต่การรู้จักตนเองและเข้าใจท้องถิ่น ไปจนถึงการเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาท้องถิ่นและการดำเนินการเพื่อความเสมอภาคทางวัฒนธรรมไปปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญกับความหลากหลายของรูปแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทำให้สังคมโดยรวมของไต้หวันยกระดับขึ้น ตัวอย่างเช่น เทศกาลวัฒนธรรมเชิงนิเวศของชาวฮกเกี้ยนที่เก่าแก่ที่สุดอย่าง「เทศกาลผีเสื้อเหลืองที่เหม่ยหนง」และล่าสุด「พันธมิตรปฏิบัติการพลเมือง 1985」ที่แสดงให้เห็นว่าประเด็นสาธารณะในท้องถิ่นสามารถกระตุ้นความห่วงใยและความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ประชาชนรวมตัวกันได้อย่างสามัคคี

ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การพัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางวัฒนธรรม จึงมีการดำเนินการต่อเนื่องผ่านกลไกของสภาบริหารคณะกรรมการวัฒนธรรม เพื่อร่วมกันสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และเพื่อสร้างลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่องและเพิ่มโอกาสและช่องทางให้ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ นวัตกรรมอุตสาหกรรม หรือการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมและการถ่ายทอดทักษะ สามารถค้นพบได้ในชุมชน (หรือหมู่บ้าน) ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็น「การพัฒนาในท้องถิ่น」และ「การดำเนินงานอย่างยั่งยืน」ในยุคโลกาภิวัตน์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถดำเนินผ่านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้จากความรู้ท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมจริงในการดำเนินงานของชุมชน ผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล และเชื่อมโยงทรัพยากรข้ามสาขา  เพื่อสามารถเผชิญกับปัญหาปัจจุบันของชุมชน ( สมาคม ) อย่างแข็งขันและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

ในอนาคต ทางหน่วยงานจะยังคงเพิ่มประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมของประชาชน  และขยายการบูรณาการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงต่างๆ หน่วยงานในสังกัดของกระทรวง รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดต่างๆ องค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงชุมชนที่สนใจประเด็นต่างๆ ประชากรวัยทำงาน เยาวชน และภาคส่วนที่สอง ( ภาคเอกชน ) ( รวมถึงมูลนิธิ ) เพื่อร่วมมือกัน สร้างระบบสนับสนุนที่ครอบคลุมสำหรับการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ด้วยการนำพลังหรือความสามารถทางวัฒนธรรมใหม่ๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยน จึงช่วยยกระดับศักยภาพในการสร้างสรรค์ และสั่งสมทุนทางปัญญาด้านวัฒนธรรมของชาติและผลลัพธ์ของความร่วมมือข้ามสาขาอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณประชาธิปไตยในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม


การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

แนะนำทีมสร้างสรรค์ชุมชนที่มีประสบการณ์สูงและมีคุณภาพ ให้เข้าร่วมกิจกรรมระดับนานาชาติและวางแผนการแลกเปลี่ยน การเยี่ยมชม      

รัฐบาลได้เสนอ「นโยบายการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม」ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 จนถึงปัจจุบันได้สร้างทีมพัฒนาชุมชนที่มีความชำนาญและมีคุณภาพมากมาย สร้างสรรค์ศักยภาพที่โดดเด่นและแสดงพลังที่แข็งแกร่งภายในพื้นที่ชุมชน เพื่อให้พลังนี้แผ่ขยายไปทั่วโลก ผลักดันประสบการณ์การพัฒนาชุมชนของไต้หวันสู่เวทีนานาชาติ จึงได้มีการส่งเสริมอย่างจริงจังให้ชุมชน (รวมถึงตัวบุคคล) เข้าร่วมการประชุมและฟอรัมระหว่างประเทศ เช่น Social Enterprise World Forum นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน จึงวางแผนการแลกเปลี่ยนเยี่ยมชมหรือคณะศึกษาดูงาน  ด้านหนึ่ง เพื่อแบ่งปันผลสำเร็จของการสร้างสรรค์สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของไต้หวันให้กับมิตรประเทศ อีกด้านหนึ่งก็เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่หลักระดับจังหวัดและผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในแนวหน้าที่เกี่ยวข้อง